“แบงก์กรุงศรี” คาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 33.40-33.85 ลุ้นเงินเฟ้อมะกัน-ประชุมธนาคารกลางยุโรป

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.40-33.85 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 33.61 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 33.37-33.65 บาท/ดอลลาร์ เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร(บอนด์ยิลด์)ของสหรัฐฯพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2562 หลังรายงานการประชุมวันที่ 15-16 มีนาคมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) บ่งชี้ถึงโอกาสสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 50bp เป็นจำนวนหลายครั้งเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันผู้ดำเนินนโยบายเห็นว่าจะมีการปรับลดขนาดงบดุลลงในอัตราราว 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งจะเป็นการลดการถือครองพันธบัตรลง 6 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน และหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (Mortgage-backed Securities) 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดยมาตรการ Quantitative Tightening นี้จะเริ่มหลังการประชุม FOMC วันที่ 3-4 พฤษภาคม ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 1,861 ล้านบาท และ 8,462 ล้านบาท ตามลำดับ กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรีคาดว่า นักลงทุนจะให้ความสนใจกับข้อมูลเงินเฟ้อและยอดค้าปลีกเดือนมีนาคมของสหรัฐฯ …

กลุ่มทรูเตรียมเสนอขายหุ้นกู้ TUC ชูดอกเบี้ยคงที่ 2.85-3.75% คาดเปิดจองซื้อกลางเดือน พ.ค.นี้

  กลุ่มทรู เตรียมออกหุ้นกู้บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ TUC ครั้งที่ 1/2565 ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวน 3 ชุด อายุหุ้นกู้ตั้งแต่ 2 ปี ถึง 4 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง [2.85]% ถึง [3.75]% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้และบริษัทอยู่ที่ระดับ BBB+ แนวโน้ม “คงที่” จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 เสนอขายนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ คาดว่าจะเปิดให้จองซื้อกลางเดือนพฤษภาคม 2565 ผ่านธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย และบล.เกียรตินาคินภัทร โดยมีธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ น.ส.ยุภา ลีวงศ์เจริญ หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านการเงิน …

เฟดพ่นพิษดอกเบี้ยใส่หุ้นไทย ปิดร่วง -18.77 จุด

หุ้นไทยปิดตลาดร่วงเหว -18.77 จุด โบรกฯ ชี้เฟดอาจประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูง กระทบดัชนีและความเชื่อมั่นตลาดอย่างรุนแรง แม้กระทั่งพันธบัตรเริ่มย่อลงบ้างแต่ยังอยู่ระดับสูง พร้อมประเมินกรอบการลงทุนพรุ่งนี้หวัง SET INDEX ฟื้นตัวมองแนวต้าน 1,700 จุด และแนวรับ 1,670 จุด ตลาดหุ้นไทยปิดทำการซื้อขายวันที่ 7 เมษายน 2565 ปรับตัวลดลง -18.77 จุด หรือ -1.10% โดยปิดตลาดที่ 1,682.41 จุด มูลค่าการซื้อขาย 97,091.59 ล้านบาท โดยภาพรวมการซื้อขายหุ้นวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยดิ่งลงเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดทั้งวันสอดคล้องกับตลาดในภูมิภาค โดยระหว่างวันปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 1,694.23 จุด และปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ 1,674.81 จุด ขณะที่หลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในวันนี้เพิ่มขึ้น จำนวน 405 หลักทรัพย์ ไม่เปลี่ยนแปลง จำนวน 304 หลักทรัพย์ และปรับตัวลดลง จำนวน 1,606 หลักทรัพย์ ด้านปริมาณการซื้อขายขายจำแนกตามกลุ่มนักลงทุน พบว่า นักลงทุนในประเทศซื้อสุทธิกว่า 6,606.05 …

PwC กาง 6 ธุรกิจเทรนด์ M&A มาแรงปี 2565

PwC เผยกิจการควบรวมมากสุดในไทยปี’64 อุตสาหกรรม “บริการทางการเงิน-เทคโนโลยี” ชี้ปริมาณ-มูลค่าการซื้อขายและควบรวมปีนี้โตต่อเนื่อง พร้อมกาง 6 ธุรกิจเทรนด์ M&A มาแรงปี’65 แรงกดดันจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล วันที่ 6 เมษายน 2565 นางสาวฉันทนุช โชติกพนิช หุ้นส่วนและหัวหน้าสายงานดีลส์ บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2564 เป็นปีที่มีปริมาณการซื้อขายกิจการสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากธุรกิจและผู้คนเริ่มปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ และคาดว่าปริมาณและมูลค่าการซื้อขายและควบรวมกิจการในปี 2565 จะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน แม้จะมีการแพร่ระบาดของโอมิครอน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นก็ตาม เพราะผู้นำธุรกิจเริ่มมองเห็นแนวโน้มของโลกในระยะต่อไปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงหันมาทบทวนกลยุทธ์และธุรกิจในพอร์ตโฟลิโอของตนเอง ขณะที่บางธุรกิจต้องการปรับโครงสร้างต้นทุน หรือแสวงหาธุรกิจอื่นที่ตนยังขาดเพื่อรักษาอัตราการเติบโต โดยกิจการที่มีการควบรวมกันมากที่สุดในประเทศไทยในปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่นั้นเป็นกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและเทคโนโลยี “เทรนด์ของการทำดีลซื้อขายและควบรวมกิจการของไทยในปีนี้จะคล้ายคลึงกับทั่วโลก แม้กระแสอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ขยับขึ้นสูง และกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เกิดอุปสรรคต่อโครงสร้างการเงินสำหรับการบรรลุข้อตกลงในการทำดีลบ้าง แต่สภาวการณ์ดังกล่าวกลับจะยิ่งเป็นตัวผลักดันให้เกิดการควบรวมกิจการมากขึ้น บริษัทจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เข้าสู่ตลาดใหม่ และแปลงไปสู่ดิจิทัลเพื่อเพิ่มคุณค่ากิจการอย่างยั่งยืน” นางสาวฉันทนุช กล่าว โดยแนวโน้มสอดคล้องกับรายงาน Global M&A Industry Trends: 2022 …

MJD ปลื้มนักลงทุนตอบรับหุ้นกู้ล็อตใหม่ 1.3 พันล้าน

“เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์” ปิดดีลเสนอขายหุ้นกู้ล็อตใหม่ 1,300 ล้าน เกลี้ยงตามเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อบริษัทฯ สะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง มุ่งเดินหน้าสู่การเป็นผู้พัฒนารูปแบบการใช้ชีวิต หรือ Lifescape Developer อย่างเต็มตัว น.ส.เพชรลดา พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ MJD กล่าวว่า บริษัทได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ในการเสนอขายหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2565 จำนวน 2 ชุด มูลค่ารวมไม่เกิน 1,300 ล้านบาท หลังจากที่เปิดเสนอขายระหว่างวันที่ 31 มีนาคม และวันที่ 1-4 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ผ่านผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ 4 ราย ประกอบด้วยบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย ซีมีโก้ จำกัด …

ใกล้คลอดแล้ว!! ร่างกฎกระทรวงประกันบำนาญชราภาพ ช่วยทายาทมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีผู้รับบำนาญเสียชีวิต

นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขกฎหมายร่างกฎกระทรวงฯ การจ่ายประโยชน์ทดเแทนในกรณีชราภาพ ว่า ตามที่กระทรวงแรงงานได้ส่งร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดเแทนในกรณีชราภาพ (ฉบับที่…) พ.ศ. …..ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้วเสร็จ โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดเแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ.2550 โดยแก้ไขเพิ่มเติมการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีผู้รับบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพให้มีการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันและเป็นการช่วยเหลือทายาทของผู้รับบำนาญชราภาพ บุตร สามี ภรรยา บิดา มารดา หรือบุคคลซึ่งผู้ประกันตนระบุไว้เป็นผู้มีสิทธิ ให้ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น จากเดิมซึ่งจะได้รับเพียงแค่ 10 เท่า ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือทายาทของผู้ประกันตน ให้ได้รับเงินมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อครอบคลุม ดูแลคุณภาพชีวิตให้กับผู้ประกันตนอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ ขั้นตอนต่อไปของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จะลงนามในร่างกฎกระทรวงดังกล่าว และส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จากนั้นจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป อ้างอิง https://siamrath.co.th/economy

“ทรีนีตี้” ประเมินตลาดหุ้นเดือนเม.ย.แกว่งตัว แนะกลยุทธ์ตั้งรับ

“ทรีนีตี้” ประเมินตลาดหุ้นเดือนเม.ย.แกว่งตัว Sideways ถึง Sideways down ตลาดขาดปัจจัยใหม่กระตุ้น แนะกลยุทธ์ “ตั้งรับ” แนวรับแรกที่ 1,630 จุด “โฟกัส” หุ้นเติบโตขนาดกลาง-เล็ก ได้ประโยชน์จากความชัน Yield curve ที่ลดลง พร้อมอัตราการขยายตัวของ M2 ที่แรงสุดในรอบปี นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนเดือน เม.ย.2565 เดือนแรกงวดไตรมาส 2 ปี 2565 ว่า ดัชนีมีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways ถึง Sideways down จากการขาดปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้นตลาดและยังต้องติดตาม 5 ประเด็นสำคัญที่จะส่งผลต่อการลงทุนในเดือนนี้ ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ “ตั้งรับ” มองจุดเพิ่มน้ำหนักที่น่าสนใจได้แก่ 1,630 จุด ซึ่งจะเป็นบริเวณที่ทำให้ดัชนีกลับมามี Upside ในมาตรวัด Earning yield gap (EYG) …

ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ปฯ ยื่นไฟลิ่งขาย IPO 324 ล้านหุ้น

บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไป (IPO) จำนวนไม่เกิน 324 ล้านหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 30% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมด โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัท จำนวนไม่เกิน 270 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย SK INTERTRADE PTE.LTD จำนวนไม่เกิน 54 ล้านหุ้น เพื่อเข้าซื้อขายในตลาด mai หมวดธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร โดยมี บล.กสิกรไทย เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ส่วนผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย คือ บล.กสิกรไทย และ บล.ทรีนีตี้ บริษัทฯ มีวัตถุประสงค์นำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้น IPO ไปเป็นเงินลงทุนสำหรับการขยายธุรกิจ และการลงทุนโครงการในอนาคตของกลุ่มบริษัท กระบวนการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ รวมถึงนำไปชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และเป็นเงินทุนหมุนเวียน บริษัทฯ ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ได้แก่ (1) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติ (2) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ และ (3) …